The Tongue Has No Bones นิทรรศการเดี่ยวโดย ตัน ซี ห่าว (Tan Zi Hao) 6 กรกฎาคม – 27 กรกฎาคม 2567 ที่ A+ Works of Art, กัวลาลัมเปอร์
A+ WORKS of ART ภูมิใจนำเสนอ “The Tongue Has No Bones” นิทรรศการเดี่ยวครั้งที่สองของ Tan Zi Hao ที่จัดกับแกลเลอรีนี้ นำเสนอศิลปะจัดวาง โดยใช้วัสดุแลกรรมวิธีการทางศิลปะผสมผสาน และวิดีโอผลงานใหม่ที่เน้นในเรื่องของการเมืองในเชิงภาษาศิลปิน งานนิทรรศการนี้ ผู้ชมจะได้ร่วมสำรวจถึงข้อดีและข้อเสียของความหลากหลายทางภาษาที่มีอยู่ในมาเลเซีย
สรุปเนื้อหาของนิทรรศการโดยย่อ “The Tongue Has No Bones” – ทุกครั้งที่หัวข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษาที่ปลุกคนมาเลเซียให้ตื่นจากการหลับใหล เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญในภาษามลายู ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของโรงเรียนสอนภาษาท้องถิ่น และการมองเห็นได้ของป้ายหลายภาษาสาธารณะ ล้วนก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างดุเดือด ในฐานะเครื่องมือที่รู้จักกันดีในการเชื่อมช่องว่าง ภาษาได้ปลูกฝังความขัดแย้งโดยไม่ได้ตั้งใจ ความเสียดทานนี้มักจะเกิดจากความล้มเหลวขั้นพื้นฐานในการบังคับใช้ภาษาที่เป็นเอกภาพทั่วมาเลเซีย คล้ายกับเหตุการณ์ที่หอคอยบาเบล ความหลากหลายทางภาษาถูกมองด้วยความสงสัยว่าเป็นอุปสรรคต่อความสงบสุข ลิ้นเป็นตัวชี้นำในเรื่องของชื่อเสีย การพูดอาฆาตอย่างทันทีทันใด ด้วยความชำนาญในการผสมผสานคำพูดและภาษา ลิ้นจึงมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย
ใน “The Tongue Has No Bones” Tan Zi Hao ได้นำความเชื่อที่มีต่อภาษาในสังคมของเรามาพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ภาษาหนึ่งภาษามีความสามารถในการรวมกลุ่มผู้พูดของมันได้จริงหรือ? การพูดในภาษาที่แตกต่างกันทำให้เราเกิดความขัดแย้งกันหรือไม่? อะไรคือสิ่งที่กำหนดว่าภาษาคืออะไร? เราคาดหวังให้ภาษาทำอะไรให้เรา? และทำไมเราถึงมีความศรัทธาในลิ้นของเรามากขนาดนั้น? วลีที่เป็นสำนวนในภาษามลายู “lidah tak bertulang” หรือ “ลิ้นไม่มีกระดูก” บ่งบอกถึงอวัยวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นสุภาษิตที่เตือนให้เราระมัดระวังคำพูดที่ออกจากปาก ลิ้นไม่มีกระดูก แต่กลับก่อให้เกิดความวุ่นวาย มันแย่งชิงอำนาจ แม้ว่าจะขัดกับความคาดคิด ศิลปินสนใจในธรรมชาติที่ไม่แน่นอนของภาษาที่ข้ามขอบเขตทางวัฒนธรรมและภาษาที่คงที่แต่แรกเริ่มทำไมเราถึงเชื่อมั่นในลิ้นของเราที่ไม่สามารถควบคุมได้?
ไม่มีการรับประกันว่าลิ้นของเราจะถ่ายทอดความคิดและคำพูดอย่างซื่อสัตย์ จึงทำให้เรานำเสนอตัวตนของเราอย่างที่เราเป็นจริงๆ เนื่องจากภาษามักมีความไม่ชัดเจนและต้องต่อสู้เพื่อความชัดเจน ภาษาเป็นสิ่งที่ถูกแปลเสมอ ในภาษานั้นมีความไม่เพียงพอ ชักนำให้เราตระหนักถึงความเสี่ยงในการแปลความตัวเองผิดเมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้อื่น ความแตกต่างของภาษา นอกจากจะเป็นแหล่งที่มาของความแตกแยกแล้ว ยังเป็นคำเชิญที่เปิดกว้างให้ฟังอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสัมผัสถึงความเป็นตัวตนในภาษาของผู้อื่น และเพื่อพิจารณาการดูแลอย่างวิจารณ์และอ่อนโยน
ประวัติศิลปิน:
Tan Zi Hao (เกิดปี 2532, มาเลเซีย) เป็นศิลปิน นักเขียน นักวิจัย และนักการศึกษา ผลงานของเขาครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การปฏิบัติทางภาษาข้ามภาษา สิ่งมีชีวิตในจินตนาการ ไปจนถึงการรื้อทิ้งอัตลักษณ์และตัวตนของมนุษย์ที่มีปัญญา (posthuman entanglements) โดยมุ่งเน้นที่ปัญหาความไม่มั่นคงในเชิงภววิทยา ผลงานของเขานำเสนอการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของการเป็นเอกพจน์-พหูพจน์ในยุคของการพึ่งพาซึ่งกันและกันทั้งในระดับโลกและเชิงนิเวศ ในฐานะศิลปินที่เคลื่อนไหวในสาขาวิชาต่าง ๆ เขายังถือปริญญาเอกด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ผลงานทางวิชาการของเขาได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ARTMargins, Inter-Asia Cultural Studies, Indonesia and the Malay World, Journal of Southeast Asian Studies และ Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde เป็นต้น
นิทรรศการที่ผ่านมา ได้แก่ Prosthetic Memories, A+ Works of Art, มาเลเซีย, 2023; Dream of the Day, Ilham Gallery, มาเลเซีย, 2023; Synthetic Condition, UP Vargas Museum, ฟิลิปปินส์, 2022; Kathmandu Triennale 2077, เนปาล, 2022; Phantasmapolis: 2021 Asian Art Biennial, National Taiwan Museum of Fine Arts, ไต้หวัน, 2021 ในปี 2023 ผลงานของ Tan ได้รับการคัดเลือกสำหรับ Singapore Art Museum S.E.A. Focus Art Fund