“SURVIVAL SPHERE”
จากนักล่า สู่ผู้ถูกล่า
นิทรรศการเดี่ยวโดย
วัลลภ หาญสันเทียะ
คิวเรทโดย จิรารัตน์ ไชยราช
ร่วมด้วย สุรสิทธิ์ มั่นคง, บี. 2532, อุดรธานี, (งานเซรามิคทาสี, ภาพเขียน) และ วิลาวัลย์ เวียงทอง, เกิดปี 2533, เลย, (การแสดง, วีดีโอ, ภาพวาด)
5 ตุลาคม – 16 พฤศจิกายน 2567
เปิดนิทรรศการในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567
เวลา 18.00 น.
ณ. Head High Second Floor เชียงใหม่
วัลลภ หาญสันเทียะ ใช้เป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบ สำรวจจุดเริ่มต้นของการกำเนิดสังคมมนุษย์และการขยายเผ่าพันธุ์ที่สร้างผลกระทบต่อความเป็นอยู่ สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม รวมถึงการปูรากฐานวัฒนธรรมอันหลากหลายที่เกิดขึ้นในโลกผ่านผลงานศิลปะจากทัศนคติ ประสบการณ์ และมุมมองของผู้ที่สนใจเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอันใกล้ตัว
แม้แต่มายาคติ สอดแทรกแนวคิดทางปรัชญาของโทมัส ฮอบส์ ที่กล่าวว่า “มนุษย์มีธรรมชาติ ที่เห็นแก่ตัว มีความทะเยอทะยานเป็นสัญชาติญาณเดิม เปรียบเสมือนหมาป่าที่ต้อง คอยดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ด้วยเหตุดังกล่าวมนุษย์จึงหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทุกคนต่างปกป้องและรักษาชีวิตตนเอง เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำร้าย มนุษย์จึงมีสิทธิตามธรรมชาติในอันที่จะรักษาตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามหรือทำร้ายจากผู้อื่น” ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นธรรมชาติที่ถูกซ่อนอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์
ถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และประวัติศาสตร์ อันทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องราวทั้งหมด วัลลภ หาญสันเทียะ เปิดประเด็นการรับรู้ของมนุษย์ ชักชวนให้ผู้ชมสร้างบทสนทนาระหว่างกัน และกระตุ้นความสงสัยต่อการตั้งคำถามกับสังคมว่า แท้จริงแล้วความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นส่งผลต่อความคิดของผู้คนอย่างไร? นิทรรศการ Survival Sphere: จากนักล่าสู่ผู้ถูกล่า จึงเป็นเพียงการเปิดประตูไปสู่นิยามความเชื่อในมิติต่างๆของบริบททางสังคม
เกี่ยวกับศิลปิน
วัลลภ หาญสันเทียะ (พ.ศ. 2521) เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ปัจจุบันพํานักและทํางานที่จังหวัดเชียงใหม่
วัลลภ หาญสันเทียะ เป็นศิลปินร่วมสมัยชาวไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเน้นความสนใจในด้านความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ ผ่านการสังเกตสิ่งรอบตัวในชีวิตประจาวัน ด้วยความที่เขาไม่ยืดต่อการทางานในรูปแบบเดิม ทาให้วัลลภสร้างผลงานด้วยสื่อที่หลากหลาย อาทิ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย สื่อผสม และศิลปะการจัดวาง ซึ่งล้วนเป็นเทคนิคที่ถูกหยิบนามาใช้ในกระบวนการสร้างสรรค์ในมิติใหม่ เพื่อแตกประเด็นและสะท้อนมุมมองความจริงและข้อเท็จจริงบางส่วนในกระแสสังคม
ช่วงกลางปี พ.ศ. 2566 วัลลภเริ่มสร้างผลงานชุดใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเลือกใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาประยุกต์กับเทคนิคที่คิดค้นด้วยตัวเอง จนเกิดเป็นผลงานล่าสุด ชื่อว่า “Survival Sphere : จากนักล่าสู่ผู้ถูกล่า” เขาได้สร้างภาพจิตรกรรมที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มของมนุษย์หรือสัตว์หลากหลายแขนขาเสมือนไม่มีอยู่จริงในโลก และจาลองประติมากรรมเชิงทดลองขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการนาเสนอเรื่องราวของศิลปะที่มักแปรผันไปตามพื้นที่และกาลเวลา รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวของเชื่อในแง่มุมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตถึงปัจจุบัน จนนาไปสู่การขยายการทางานร่วมกันระหว่างสองศิลปินอีสานรุ่นใหม่ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว ทางด้านประติมากรรมและศิลปะการแสดงสด
วัลลภได้เข้าร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ในปี พ.ศ. 2567 “เทศกาลศิลปะ Kenduri Seni Patani 2024” ปัตตานี; “Selected works by Numthong” กรุงเทพ; “TEDxChiangMai 2024 : What if … ?” ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่; ปี พ.ศ. 2566 “Corn 2021” ณ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส Résidence de France ประจำประเทศไทย; “LABORATORY” ณ studio 88 Artist Residency เชียงใหม่; “พบพักตร์ พิศภาพ” ใหม่อีหลี ขอนแก่น; HAUS ณ Head High Second Floor เชียงใหม่; ต่อมาปี พ.ศ. 2565 “พบพักตร์ พิศภาพ: ความทรงจาผ่านใบหน้าในชุดผลงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม” เชียงใหม่; “Against the Wall: ก าแพง – ความคิด” ณ Numthong Art Space; “handbook of sky ladder (temporary collective)” ไต้หวัน; “THE PRESENCE OF SILENCE” ณ แกลเลอรี่ ซีสเคป; ในปี พ.ศ. 2564 “Art For Air” พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเชียงใหม่; “CLOUDS” ณ The Golden Triangle Hang Dong เชียงใหม่; “เทศกาล Shinano Primitive Sense Art Festival 2021 – The Fleeting Moment of Water” ญี่ปุ่น; พ.ศ. 2563 “Mass Art Project (MAP)”Gallery VER กรุงเทพ; “Shine Landscape 2020 Award” ณ M.A.D.S. Milano อิตาลี; “The rice – field crab series” กรุงเทพ; “Retrospective” ล้ง 1919 กรุงเทพ; พ.ศ. 2562 “Banana & Me”พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม; “CELL NUTURE” ณ The Golden Triangle Hang Dong เชียงใหม่ และ The Golden Triangle Chicago สหรัฐอเมริกา; “GLOOMY MEMOIR ภาพจ า”,York By Dumbo กรุงเทพ; วัลลภยังคงทางานศิลปะอย่างต่อเนื่องในฐานะศิลปินอิสระ จากการทางานวิพากษ์วิจารณ์ และสะท้อนถึงปัญหาทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องยาวนาน