Agnos Health พลิกโฉมการรอคิวหน้าห้องตรวจด้วย Smart Patient Management นวัตกรรม AI บริหารจัดการคนไข้ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

Agnos Health พลิกโฉมการรอคิวหน้าห้องตรวจด้วย Smart Patient Management นวัตกรรม AI บริหารจัดการคนไข้ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

Agnos Health พลิกโฉมการรอคิวหน้าห้องตรวจด้วย Smart Patient
Management นวัตกรรม AI บริหารจัดการคนไข้ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ

Agnos Health บริษัทสตาร์ทอัปผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ และโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ร่วมพัฒนาบริการระบบ Smart Patient Management ที่ช่วยบริหารจัดการคนไข้ด้วยการใช้ AI หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เปิดใช้งานแล้วที่ Health Design Center (HDC) โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ต่อเนื่องจากการเปิดให้บริการระบบ Smart Registration ที่สามารถใช้ตู้ Kiosk ลงทะเบียนผู้ป่วย ที่แผนกลงทะเบียน ที่ผ่านมา

นพ.สมฤทธิ์ จันทรประทิน รองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่ม 1 กล่าวว่า “การนำระบบ Smart Patient Management มาใช้ที่ Health Design Center (HDC) ซึ่งมีผู้รับบริการจำนวนมากในแต่ละวัน มีขั้นตอนเยอะในการตรวจรักษา แล้วทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแพทย์ พยาบาล และ ผู้รับบริการ เมื่อเราใช้ระบบ AI ทำให้กระบวนการสื่อสารที่ไม่จำเป็นระหว่างทีมลดลง ยังช่วยบริหารจัดการคนไข้ในขั้นตอนการรับบริการ อาทิ รายการตรวจที่รอรับบริการ เวลาที่ใช้ในการตรวจ เพิ่มความสะดวกลดปัญหาจากการพูดคุยและต้องถามซ้ำหลายครั้ง เพราะคนไข้รู้ข้อมูลโดยระบบที่พัฒนาขึ้นมา ผลลัพธ์เหนือความคาดหวังเนื่องจาก flow คนไข้โรงพยาบาลมีความซับซ้อนมาก หากเทคโนโลยีที่ทาง Agnos ตอบรับความซับซ้อนนี้ได้ สามารถขยายการบริการไปยังศูนย์อื่นๆ ภายในโรงพยาบาลในอนาคต”

พญ.เกวลิน รังษิณาภรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพและผู้อำนวยการ Health Design Center กล่าวว่า “Health Design Center คือ แผนกตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ เรามีคนไข้มารับบริการวันนึง 200 – 300 ราย ในแต่ละชุดตรวจก็จะมีความซับซ้อน ความยากของแผนกคือการบริหารจัดการเรื่องคิว คนไข้แต่ละคน มีชุดตรวจที่หลากหลาย มีขั้นตอนการตรวจ มีเวลาการตรวจที่ไม่เท่ากัน ที่ผ่านมาใช้เจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการเรื่องคิว ซึ่งพอเราใช้คน ก็จะมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้น หลังจากที่เราเอาระบบการบริหารจัดการคิวของ Agnos เข้ามาใช้ AI เป็นเทคโนโลยี ในการช่วยบริหารจัดการคิว ช่วยให้สามารถกระจายคิวของคนไข้ไปตรวจในส่วนต่าง ๆ ของแผนกได้อย่างทั่วถึง และลื่นไหลกว่าการใช้เจ้าหน้าที่เป็นคนบริหารจัดการคิว”

จุดเด่นของระบบ Smart Patient Management ที่ได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาช่วยบริหารจัดการคนไข้ มีดังนี้

การแจ้งเตือนสถานะแบบทันที (Real-time status update)
ระบบสามารถดู สถานะคิว และ รับการแจ้งเตือนคิวตรวจของคนไข้ ผ่าน Line หรือเว็ปไซต์ หรือ แอปพลิเคชันบนมือถือ ทั้งยังสอดคล้องกับคิวแจ้งเตือนบนจอ TV ในแผนกตรวจนั้นๆ ทำให้สามารถรู้คิวของตนเองชัดเจน คนไข้ไม่ต้องคอยถามสถานะการรอคอยจากเจ้าหน้าที่ และสามารถดูระยะเวลารอคอยได้ตลอดเวลาทำให้คนไข้ไม่ต้องแออัดหน้าห้องตรวจ

แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ (E-Form) และ AI แนะนำแพ็กเกจตรวจ
สามารถใช้งาน E-form แทนการกรอกฟอร์มบนกระดาษ คนไข้สามารถกรอกข้อมูลบนฟอร์มด้วยตนเองก่อนมาโรงพยาบาล ลดเวลาที่ต้องมารอลงทะเบียนหน้าเคาน์เตอร์ นอกจากนี้ ระบบสามารถตรวจเช็คความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไข้ เพื่อแนะนำแพ็กเกจตรวจที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนได้

AI แนะนำลำดับการตรวจ (AI next exam recommendation)
เป็นตัวช่วยส่งต่อการตรวจให้กับเจ้าหน้าที่ โดยระบบ AI เสมือนผู้ช่วย (Co-pilot) จะมีการประมวลผลจากรายการตรวจของคนไข้แต่ละคน เวลาการรอคอยของแต่ละรายการ เวลานัดหมาย และลำดับความสำคัญทางคลินิก เพื่อแนะนำลำดับการตรวจของคนไข้ให้เหมาะสม เกิดการกระจายตัวของคนไข้ให้ได้มากที่สุด เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยของคนไข้

การจัดการภาพรวมของคนไข้ (Manage overall patient flow)
เจ้าหน้าที่พยาบาลสามารถคอยดูแลภาพรวมคิวของคนไข้ทั้งแผนกหรือทั้งระบบ ให้คนไข้ไม่ล้น จนต้องรอคิวตรวจนานเกินไป โดยสามารถดูระยะเวลารอคอยของแต่ละรายการตรวจได้ และ สามารถโยกคนไข้ ไปตรวจรายการอื่นได้ทันที หากระยะเวลารอคอยมากเกินไป

การบริหารจัดการเจ้าหน้าที่ (Operation management)
สามารถดูสถานะการให้บริการและบริหารจัดการเจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยระบบ AI ช่วยแนะนำปรับเปลี่ยน ห้องแบบ Multi-purpose เพื่อลดคิวตรวจที่แออัดในบางรายการได้

ความสำเร็จของการพัฒนาระบบ Smart Patient Management ในครั้งนี้ สามารถช่วยลดเวลารอคอยได้มากถึง 50% และลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในหลายขั้นตอน และ ทำให้เจ้าหน้าที่มีเวลาดูแลคนไข้มากขึ้น จากที่ต้องคอยดูแลเอกสารคนไข้ และรันคิวตรวจเป็นหลัก โดยคาดหวังว่าทั้งผู้ให้บริการ เช่น แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และฝั่งผู้มารับบริการ หรือคนไข้ จะได้รับประโยชน์สูงสุดและมีความประทับใจต่อการบริการที่เพิ่มมากขึ้น

คุณศุทธนุช หางแก้ว หัวหน้าแผนก และ คุณกุลธิดา ไวแสน พยาบาลประจำแผนก Health Design Center ได้กล่าวว่า “จากแต่ก่อนเป็นการแจกคิวแบบระบบแมนนวล เมื่อมีการใช้ระบบคิวของ Agnos ก็ทำให้ดูสมาร์ทขึ้นโดยการใช้ระบบคิว และคนไข้สามารถดูคิวตัวเองได้จากมือถือ ระบบช่วยในการทำงานได้มาก ลดภาระหน้างาน เพราะว่าทุกอย่างอยู่ในระบบ สามารถลดเวลาการทำงาน ทำให้สามารถบริการคนไข้ได้เพิ่มมากขึ้น และระบบใช้งานง่าย ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากคนไข้ คนไข้ก็ไม่ต้องลุกมาถามเจ้าหน้าที่ สามารถตรวจสอบคิวของตัวเองจากระบบได้เลย การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือการได้เห็นภาพรวมของการให้บริการในแต่ละเครื่องมือ ทราบสถานะคิวของคนไข้ในแต่ละจุด ทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สร้างความประทับใจให้กับผู้รับบริการ”

ดร. ปพนวิช ชัยวัฒโนดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอ็กนอสเฮลท์ ปิดท้ายว่า “ระบบ Smart Patient Management ได้นำ AI Co-pilot มาใช้ช่วยสถานพยาบาลบริหารจัดการคนไข้ ลดขั้นตอนต่าง ๆ ที่แมนนวล มาเป็นการใช้ระบบบริหารจัดการแบบอัตโนมัติ นับเป็นการนำระบบ AI เข้ามาใช้ช่วยดูแลคนไข้ในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในไทย ช่วยพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลในไทยให้ไปไกลในระดับสากล ตอบสนองเทรนด์ Smart hospital นอกจากนี้ โดยระบบ ระบบ Smart Patient Management รองรับการประยุกต์ใช้กับสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งการบริหารจัดการแผนกผู้ป่วยนอก และบริหารจัดการเอกสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลแบบสมบูรณ์สามารถปรับแต่ง ปรับปรุงเฉพาะส่วน ให้เหมาะสมเข้ากับทุกระบบบริการ และช่วยเติมเต็มให้การบริการของคุณเป็นที่ประทับใจแก่กลุ่มลูกค้าได้”

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง https://www.agnoshealth.com/smart-hospital-and-clinics

ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ที่เมล์ : pr@prfreeonline.com Line : @649dwyqd
Back To Top