กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เผยโฉม 5 ทีมนักศึกษา คว้าคะแนนสูงสุดเป็นทีมต้นแบบ ในกิจกรรมการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เผยโฉม 5 ทีมนักศึกษา คว้าคะแนนสูงสุดเป็นทีมต้นแบบ ในกิจกรรมการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล

กิจกรรมการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล

เมื่อวันที่ 12-14 มกราคม พ.ศ.2565ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โชว์พลังสร้างสรรค์นักศึกษาผ่านการจัดงานนำเสนอผลงานใน “โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล  ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายกุศล โชติรัตน์  รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นประธานในพิธีเปิดงาน  พร้อมทั้งมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “นวัตกรรมน้ำบาดาลเพื่อการพัฒนาในยุค Generation Alpha”  โดย ดร. สุรินทร์ วรกิจธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาน้ำบาดาล

สำหรับ “กิจกรรมการประกวดแนวคิดและนวัตกรรมด้านน้ำบาดาล (GROUNDWATER INNOVATION CHALLENGE)”เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นต้นแบบ ด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน” ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom Meeting)

 

ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ 5 ท่านร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน ได้แก่ นายสิทธิศักดิ์ มั่นอยู่  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน (งานทรัพยากรน้ำบาดาล)  ดร. ทัศนีย์ เนตรทัศน์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนางานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล ดร. นงรัตน์ อิสโร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program (ILP) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มยุรี ศรีกุลวงศ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

โดยการแข่งขันในครั้งนี้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศให้ความสนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการมากถึง 32 ทีม  ซึ่งทุกทีมที่เข้าร่วมจะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมน้ำบาดาล  ในการจัดงานครั้งนี้มี 5 ทีมจากสถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อเข้าชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท ซึ่งทางคณะกรรมการจะทำการพิจารณาตัดสินการให้รางวัลอีกครั้งในลำดับถัดไป

ในโอกาสนี้ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ 5 ทีมสุดท้ายที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ  โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณาแนวคิดที่โดดเด่นและได้คะแนนสูงสุดที่มีความเหมาะสมสำหรับเป็นตัวอย่างที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงการต้นแบบในอนาคต ได้แก่ ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยทั้ง 5 ทีมเป็นโครงการที่มีแนวคิดที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดขยายองค์ความรู้ไปยังชุมชน และเครือข่ายท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ใช้น้ำบาดาล ตลอดจนนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีส่วนร่วมและเป็นระบบ

สำหรับผู้ที่สนใจความรู้ด้านน้ำบาดาล สามารถติดตามรายละเอียดการประกวดได้ทางเพจชื่อ ส่วนฝึกอบรม สำนักบริหารกลาง หรือโทรสอบถามได้ที่ 0 2666 7168

ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ที่เมล์ : pr@prfreeonline.com Line : @649dwyqd
Back To Top